วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การทำขนมจีน


ขนมจีนจริงๆแล้วเป็นอาหารที่มีต้นกำเนิด





คำว่า "ขนมจีน" ไม่ใช่ของอาหารจีน แต่คำว่า "จีน" ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญ

ซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" หมายถึง "สุก 2 ครั้ง" พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า "จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก" นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม" แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม" จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล



เส้นขนมจีนนั้นทำมาจากแป้งข้าวเจ้าโดยจะต้องนำแป้งข้าวเจ้ามาแช่น้ำให้นิ่มและนำไปโม่ก่อน แล้วนำแป้งข้าวเจ้าไปหมักในบ่อหมักประมาณเจ็ดวัน เมื่อหมักแล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง นวดเสร็จก็นำเข้าเครื่องบีบเพื่อทำให้เป็นเส้นขนมจีน เมื่อได้เส้นแล้วก็ ทำต้มในน้ำร้อนเดือดเพื่อทำความสะอาด แล้วนำมาร้าดด้วยน้ำสะอาดอีกทีหนึ่ง ก่อนที่จะนำเส้นไปจับเป็นจีบ โดยที่ ตะกร้าขนมจีนจะต้องรองด้วยใบตองก่อนที่จะ นำขนมจีนมาวางใส่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น