วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาโปรแกรม

การพัฒนาโปรแกรม

nattakorn View my profile

Recommend

Favourites

Categories

วงจรการพัฒนาโปรแกรม

posted on 20 Mar 2009 15:36 by itm0069

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่สามารถทำงาน ได้ตามชุดคำสั่ง ในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง ซึ่งจะทำงานตามคำสั่งที่ละคำสั่ง โดยคำสั่งที่ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ จะต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาเครื่อง ถ้าเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องก็ต้องมีตัวแปลมาช่วยแปลคำสั่งเหล่านั้นให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งตัวที่มาช่วยแปลนี้เรียกว่า ตัวแปลภาษา เช่น Compiler หรือ Interpreter

ในการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรมนั้น โปรแกรมเมอร์ หรือ ผู้เขียนโปรแกรม ต้องมี การเตรียมงาน เกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอน เรียกขั้นตอนเหล่านี้ว่า วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้

  1. ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study)
  2. ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorythm Design)
  3. ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding)
  4. ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)
  5. ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation)
  6. ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)

ภาพที่ 2.1 วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC)

วิธีการทางคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนในการจัดทำโปรแกรม ที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรม ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ตามความมุ่งหมาย เพราะแต่ละขั้นตอนจะช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ การเรียบเรียงแนวคิดมีความชัดเจน ไม่สับสน และเกิดความง่ายต่อการเขียนและพัฒนาโปรแกรม แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีการสมัยใหม่เกิดขึ้น เช่นแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แต่วิธีการทางคอมพิวเตอร์ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และน่ากระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เริ่มต้นใหม่กับงานเขียนโปรแกรม เพราะช่วยให้แนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม เป็นระเบียบไม่สับสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น