วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติพระอัสสชิ

พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่งในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนาย
พระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้นเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงได้ชักชวนท่านอัสสชิพร้อมสหาย ไปเฝ้าปรนนิบัติขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม และเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านอัสสชิพร้อมด้วยสหายได้พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปกตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปโปรด โดยแสดงธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง 4

หลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้ว พระอัสสชิเถระได้เป็นหนึ่งในจำนวนพระสาวก 60รูปที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศ
พระศาสนารุ่นแรก ในเช้าวันหนึ่ง ท่านได้ออกบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อิริยาบถอันสงบสำรวมขณะเดินบิณฑบาตของท่านได้ก่อให้เกิดความประทับใจแก่มาณพหนุ่มนามว่า อุปติสสะ ผู้พบเห็นท่านโดยบังเอิญ อุปติสสะจึงติดตามท่านไปห่าง ๆ ครั้นพอได้โอกาสขณะพระอัสสชิเถระนั่งฉันภัตตาหารอยู่ จึงเข้าไปนมัสการและเรียนธรรมะจากท่าน พระอัสสชิเถระออกตัวว่า ท่านบวชไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้ อุปติสสะจึงกราบเรียนให้ท่านแสดงธรรมแต่โดยย่อ ท่านจึงแสดงธรรมโดยย่อว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและการดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้อุปติสสะครั้งได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้เป็นสหาย และครั้งโกลิตะฟังธรรมนั้นแล้ว ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกันจึงได้พากันออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระอัสสชิเถระไม่ปรากฏว่าท่านมีความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ท่านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ ชอบอยู่สงบเพียงลำพัง มีบุคลิกน่าเลื่อมใส สำรวมอินทรีย์ การคู้การเหยียดซึ่งมือและเท้า การเหลียวดูเป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง และไม่ปรากฏว่าพระอัสสชิเถระมีอายุพรรษาเท่าใด ท่านนิพพานไปเงียบ ๆ โดยไม่มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์ไหนเลย

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. พระอัสสชิเถระมีบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใส สมถะ สำรวมระวังกิริยามารยาท ดังที่อุปติสสะได้พบเห็นท่านแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจ น่าเลื่อมใส ซึ่งบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นสื่อที่ชักจูงให้ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ เข้ามาหา และมาสัมผัสรสพระธรรมเป็นอย่างดี บุคคลผู้สำรวมระวังรักษากิริยามารยาท ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจและน่าเลื่อมใสของผู้อื่น

2. พระอัสสชิเถระเป็นนักสอนศาสนาที่เชี่ยวชาญมิใช่น้อย การประกาศธรรม มิได้หมายความว่าจะต้องพูดเก่ง พูดได้ยืดยาว หากรู้จักพูด รู้จักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รู้อุปนิสัยของผู้ฟังด้วยแล้ว แม้แสดงเพียงสังเขปก็สัมฤทธิ์ผล ดังท่านได้แสดงแก่อุปติสสมาณพนั้น

3. พระอัสสชิเถระเป็นผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านทำไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยได้เป็นผู้ชักชวนให้อุปติสสมาณพ และโกลิตะมาณพเข้ามาบวช ต่อมาท่านทั้งสองก็ได้เป็นพระอัครสาวกของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น