วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

งูเหลือมพม่า






งูเหลือมพม่า (อังกฤษ: Reticulated Python, Burmese Python, ชื่อวิทยาศาสตร์: Python reticulatus) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า งูเหลือม ในภาษาไทย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูขนาดใหญ่ ลำตัวยาวเฉลี่ยประมาณ 1-5 เมตร จัดเป็นงูที่ยาวและใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุล Python

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ลักษณะทั่วไป
2 พฤติกรรม
3 การกระจายพันธุ์
4 อ้างอิง


[แก้] ลักษณะทั่วไป
ปากมีขนาดใหญ่และฟันแหลมคม ขากรรไกรแข็งแรงมากและสามารถถอดขากรรไกรในการกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้[2] เกล็ดบริเวณลำตัวตั้งแต่ปลายหัวจรดปลายหางมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล พื้นของตัวสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี ที่บริเวณส่วนหัวมีเส้นสีดำขนาดเล็กเรียวยาว เรียกว่า "ศรดำ" จนเกือบถึงปลายปาก หัวเด่นแยกออกจากคออย่างชัดเจน ปลายหางยาวแหลม เกล็ดเรียบเรียงเป็นแถวได้ระหว่าง 69 ถึง 74 แถวที่บริเวณกลางลำตัว เกล็ดทวารเป็นแผ่นเดี่ยว มีเดือยสั้น 1 คู่โผล่ออกมา มีอวัยวะรับความร้อนที่เรียกว่า "Pits" ที่ขอบปากบนและล่าง ใต้ท้องสีขาว มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวคือ มีเกล็ดสีดำเรียงตัวกันเป็นแถวซิกแซกเป็นวงค่อนข้างมีระเบียบ ภายในเกล็ดสีดำมีเกล็ดสีเหลืองเป็นขอบในและมีเกล็ดสีเหลืองบนเทาอยู่ภายใน เกล็ดบริเวณใต้ท้องมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน

[แก้] พฤติกรรม
จัดในอยู่ประเภทงูไม่มีพิษ เลื้อยช้า ๆ และอาจดุตามสัญชาติญาณเมื่อมีศัตรู ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิดโดยมักดักซุ่มรอเหยื่อบนต้นไม้ เมื่อได้จังหวะจะทิ้งตัวลงมารัดเหยื่อยจนขาดอากาศหายใจ มีสีและลายกลืนไปกับธรรมชาติ สืบพันธุ์คล้ายงูหลาม (P. molurus) แต่มีระยะฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นกหรือหนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางเช่น เก้ง, สุนัข, กระต่าย, หนู, ไก่, เป็ด, นก จึงมักมีรายงานอยู่เสมอ ๆ ว่าเข้าไปแอบกินสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ในเวลากลางคืน บางครั้งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย[3] (งูเหลือมพม่าที่ถูกนำเข้าไปในสหรัฐอเมริกามีรายงานกินจระเข้ไปทั้งตัวจนท้องแตกตาย)[4] อาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท ชอบอาศัยในที่ชื้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[5] และถือเป็นงูในสกุล Python ชนิดหนึ่งที่พบได้ 3 ชนิด ในประเทศ

[แก้] การกระจายพันธุ์
พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่หมู่เกาะนิโคบาร์ , พม่า, ไทย, ลาวและกัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว , เกาะสุลาเวสี, เกาะชวา, เกาะลูซอน และหลายหมู่เกาะในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ปัจจุบันถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของสหรัฐอเมริกา โดยมีการพบในอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์[6] เชื่อว่าถูกนำเข้ามาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะในตัวที่สีและลวดลายแปลกไปจากทั่วไปหรือสีกลายเป็นสีเผือกซึ่งมีราคาขายที่แพงมาก ซึ่งงูเหลือมพม่าเมื่อเทียบนิสัยกับงูหลามหรืองูเหลือมชนิดอื่น ๆ แล้ว ดุร้ายกว่ามาก เลี้ยงให้เชื่องได้ยาก

[แก้] อ้างอิง
^ McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
^ ลักษณะของงูเหลือม
^ งูเหลือมพม่าหลุดจากที่ขังรัดเด็ก2ขวบตายคาห้องนอน จากคมชัดลึก
^ งูเหลือมพม่าในอุทยานแห่งชาติ Everglades
^ สถานะปัจจุบันของงูเหลือม
^ งูเหลือมพม่าในอุทยานแห่งชาติ Everglades
[ซ่อน]ด • พ • กงูในประเทศไทย

งูไม่มีพิษ งูดินลายขีด • งูดินหัวเหลือง • งูดินหัวขาว • งูดินธรรมดา • งูดินโคราช • งูดินเมืองตรัง • งูดินใหญ่ • งูก้นขบ • งูแสงอาทิตย์ • งูหลาม • งูเหลือม • งูหลามปากเป็ด • งูงวงช้าง • งูผ้าขี้ริ้ว • งูพงอ้อเล็ก • งูพงอ้อหัวขาว • งูพงอ้อหลากหลาย • งูพงอ้อท้องเหลือง • งูขอนไม้ • งูกินทากลายขวั้น • งูกินทากเกล็ดสัน • งูกินทากสีน้ำตาล • งูกินทากมลายู • งูกินทากจุดดำ • งูกินทากจุดขาว • งูกินทากหัวโหนก • งูลายสาบตาโต • งูรังแหหลังศร • งูรังแหหัวแดง • งูหัวศร • งูคอขวั้นปลายหัวดำ • งูคอขวั้นหัวลายสามเหลี่ยม • งูคอขวั้นหัวดำ • งูปล้องฉนวนบ้าน • งูปล้องฉนวนลายเหลือง • งูปล้องฉนวนสร้อยเหลือง • งูปล้องฉนวนเมืองเหนือ • งูปล้องฉนวนสีน้ำตาล • งูปล้องฉนวนภูเขา • งูสายทองลายแถบ • งูสายทองคอแหวน • งูสายทองมลายู • งูปล้องฉนวนบอร์เนียว • งูปล้องฉนวนธรรมดา • งูปล้องฉนวนมลายู • งูปี่แก้วลายกระ • งูปี่แก้วสีจาง • งูปี่แก้วหลังจุดวงแหวน • งูปี่แก้วธรรมดา • งูคุด • งูงอดเขมร • งูปี่แก้วหัวลายหัวใจ • งูงอด • งูปี่แก้วใหญ่ • งูปี่แก้วภูหลวง

งูมีพิษอ่อน งูเขียวกาบหมาก • งูกาบหมากหางนิล • งูทางมะพร้าวธรรมดา • งูทางมะพร้าวแดง • งูทางมะพร้าวดำ • งูสิงธรรมดา • งูสิงหางลาย • งูสิงหางดำ • งูสิงทอง • งูสายม่านแดงหลังลาย • งูสายม่านเกล็ดใต้ตาใหญ่ • งูสายม่านหลังทอง • งูสายม่านคอขีด • งูสายม่านพระอินทร์ • งูสายม่านลายเฉียง • งูควนขนุน • งูดงคาทอง • งูแม่ตะงาวรังนก • งูเขียวดง • งูเขียวดงลาย • งูปล้องทอง • งูต้องไฟ • งูแส้หางม้า • งูแส้หางม้าเทา • งูกระ • งูเขียวหัวจิ้งจก • งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู • งูเขียวปากแหนบ • งูสายน้ำผึ้ง • งูหมอก • งูม่านทอง • งูเขียวดอกหมาก • งูเขียวพระอินทร์ • งูดอกหมาก • งูลายสอเกล็ดใต้ตาสอง • งูลายสอลายสามเหลี่ยม • งูลายสาบท้องสามขีด • งูลายสาบท่าสาร • งูลายสาบมลายู • งูลายสาบดอกหญ้า • งูลายสอใหญ่ • งูลายสอธรรมดา • งูลายสาบคอแดง • งูลายสาบจุดดำขาว • งูลายสาบเขียวขวั้นดำ • งูลายสอลาวเหนือ • งูลายสอสองสี • งูลายสอหมอบุญส่ง • งูปลิง • งูไซ • งูสายรุ้ง • งูสายรุ้งดำ • งูสายรุ้งลาย • งูหัวกะโหลก • งูปากกว้างน้ำเค็ม • งูเปี้ยว • งูปลาตาแมว • งูกระด้าง • งูปลาหลังม่วง • งูปลาหลังเทา

งูมีพิษร้ายแรง งูสามเหลี่ยม • งูทับสมิงคลา • งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง • งูเห่า • งูเห่าพ่นพิษสยาม • งูเห่าพ่นพิษสีทอง • งูจงอาง • งูพริกท้องแดง • งูพริกสีน้ำตาล • งูปล้องหวายหัวดำ • งูปล้องหวายหัวเทา • งูปล้องหวายลายขวั้นดำ • งูสมิงทะเลปากเหลือง • งูสมิงทะเลปากดำ • งูชายธงลายข้าวหลามตัด • งูทากลาย • งูกระรังหัวโต • งูชายธงท้องขาว • งูคออ่อนหัวโต • งูทากลายท้องขาว • งูเสมียนรังหัวสั้น • งูคออ่อนหัวเข็ม • งูชายธงหลังดำ • งูอ้ายงั่ว • งูแสมรังเหลืองลายคราม • งูแสมรังหางขาว • งูแสมรังลายเยื้อง • งูฝักมะรุม • งูแสมรังเทา • งูแสมรังปล้องหัวเล็ก • งูแสมรังท้องเหลือง • งูแสมรังหัวเข็ม • งูแสมรังลายวงแหวน • งูทะเลอ่าวเปอร์เซีย • งูทะเลจุดขาว • งูแมวเซา • งูกะปะ • งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง • งูเขียวหางไหม้ตาโต • งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว • งูเขียวไผ่ • งูเขียวหางไหม้ลายเสือ • งูหางแฮ่มกาญจน์ • งูแก้วหางแดง • งูเขียวหางไหม้สุมาตรา • งูปาล์ม • งูเขียวตุ๊กแก • งูหางแฮ่มภูเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น